วันศุกร์ที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2553

งานวิเคราะห์ สื่อมัลติมีเดีย (สัปดาห์ที่ 2 วันที่11-17 ธค. 2553)

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ลักษณะมัลติมีเดียเรื่องพระอภัยมณี
ตอน พระอภัยมณีพบศรีสุวรรณและสินสมุทร
วิเคราะห์โดย..
นางสาวศิรินทิพย์  ถานะกอง 538989008
นางสาวนววรรณ    เพชรี่      538989010
1.              ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยม (Learning Theory : Behaviorism)
                สื่อมัลติมีเดียเรื่อง พระอภัยมณี ตอน พระอภัยมณีพบศรีสุวรรณและสินสมุทร มีความสอดคล้องกับทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยม โดยเลือกเอาทฤษฎีการเชื่อมโยงของธอร์นไดค์ กฎการเรียนรู้
1.    กฎแห่งความพร้อม (Law of Readiness) การเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้ดี ถ้าผู้เรียนมีความพร้อมทั้งทางร่างกายและจิตใจ
2.    กฎแห่งการฝึกหัด (Law of Exercise) การฝึกหัดหรือกระทำบ่อย ๆ ด้วยความเข้าใจจะทำให้การเรียนรู้นั้นคงทนถาวร ถ้าไม่ได้กระทำซ้ำบ่อย ๆ การเรียนรู้นั้นจะไม่คงทนถาวร และในที่สุดอาจลืมได้
3.    กฎแห่งการใช้ (Law of Use and Disuse) การเรียนรู้เกิดจากการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนอง ความมั่งคงของการเรียนรู้จะเกิดขึ้น หากได้มีการนำไปใช้บ่อย ๆ หากไม่มีการนำไปใช้อาจมีการลืมเกิดขึ้นได้
4.    กฎแห่งผลที่พึงพอใจ (Law of Effect) เมื่อบุคคลได้รับผลที่พึงพอใจย่อมอยากจะเรียนรู้ต่อไป แต่ถ้าได้รับผลที่ไม่พึงพอใจ จะไม่อยากเรียนรู้ ดังนั้นการได้รับผลที่พึงพอใจ จึงเป็นปัจจัยสำคัญในการเรียนรู้
                ครูสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในด้านการเรียนการสอน
1.    การเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ลองผิดลองถูกด้วยตนเองบาง จะเป็นการช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ในการแก้ไขปัญหา โดยสามารถจดจำผลจากการเรียนรู้ได้ดี รวมทั้งเกิดความภาคภูมิใจในการทำสิ่งต่าง ๆ ด้วยตนเอง
2.    การสำรวจความพร้อมหรือการสร้างความพร้อมทางการเรียนให้แก่ผู้เรียนเป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องดำเนินการก่อนการเรียนเสมอ
3.    หากต้องการให้ผู้เรียนเกิดทักษะในเรื่องใดแล้ว ต้องให้ผู้เรียนมีความรู้และความเข้าใจในเรื่องนั้น ๆ อย่างถ่องแท้และให้ผู้เรียนฝึกฝนอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ
4.        เมื่อผู้เรียนเกิดการเรียนรู้แล้ว ควรให้ผู้เรียนฝึกนำการเรียนรู้นั้นไปใช้
โดยกลุ่มพฤติกรรมนิยมมองธรรมชาติของมนุษย์ในลักษณะเป็นกลาง คือ ไม่ดีไม่เลว (neutral-passive)  การกระทำต่าง ๆ เกิดจากอิทธิพลของสิ่งแวดล้อมภายนอก พฤติกรรมของมนุษย์เกิดจากการตอบสนองต่อสิ่งเร้า (stimulus-response) การเรียนรู้เกิดจากการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้าและการตอบสนอง กลุ่มพฤติกรรมนิยมให้ความสำคัญกับ พฤติกรรม มาก เพราะพฤติกรรมเป็นสิ่งที่สังเกตเห็นได้ สามารถวัดและทดสอบได้
                 
2.              ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มปัญญานิยม (Cognitive Theory)
จากการวิเคราะห์ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มปัญญานิยม (Cognitive Theory) ที่สอดคล้องกับเรื่อง พระอภัยมณี ตอน พระอภัยมณีพบศรีสุวรรณและสินสมุทร ก็จะยึดทฤษฎีทฤษฏีการเรียนรู้ของ กลุ่ม เกสตัลท์ คือ การเรียนรู้เป็นกระบวนการทางความคิดบุคคลจะเรียนรู้ส่วนรวมและไปหาส่วนย่อย สิ่งใกล้ตัวไปหาสิ่งไกลตัว สิ่งที่เป็นรูปธรรมไปหานามธรรม เพราะฉะนั้นการจัดการเรียนการสอน ถ้ายึดตามหลักทฤษฎีของเกสตัลท์ ในเรื่องพระอภัยมณี ควรปฎิบัติตามกระบวนการคิดดังนี้
1. กระบวน การคิดเป็นกระบวนการสำคัญในการเรียนรู้ การส่งเสริมกระบวนการคิดจึงเป็นสิ่งจำเป็นและเป็นสิ่งสำคัญในการช่วยให้ผู้ เรียนเกิดการเรียนรู้
2. การสอนโดยการเสนอภาพรวมให้ผู้เรียนเห็นและเข้าใจก่อนการเสนอส่วนย่อย จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดี
3. การส่งเสริมให้ผู้เรียนมีประสบการณ์มาก ได้รับประสบการณ์ที่หลากหลายจะช่วยให้ผู้เรียนสามารถคิดแก้ปัญหาและคิดริ เริ่มได้มากขึ้น
4. การจัดประสบการณ์ใหม่ ให้มีความสัมพันธ์กับประสบการณ์เดิมของผู้เรียนจะช่วยให้ผู้เรียนสามารถ เรียนรู้ได้ง่ายขึ้น
5. การจัดระเบียบสิ่งเร้าที่ต้องการให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ให้ดีคือ การจัดกลุ่มสิ่งเร้าที่เหมือนกันหรือคล้ายคลึงกันไว้เป็นกลุ่มเดียวกัน
6. ในการสอนครูไม่จำเป็นต้องเสียเวลาเสนอการสอนทั้งหมดที่สมบูรณ์ครูสามารถเสนอ เนื้อหาแต่เพียงบางส่วนได้ หากผู้เรียนสามารถใช้ประสบการณ์เดิมมาเติมให้สมบูรณ์
7. การเสนอบทเรียนหรือเนื้อหาควรจัดให้มีความต่อเนื่องกันจะช่วยให้ผู้เรียน เกิดการเรียนรู้ได้ดี และรวดเร็ว
8. การส่งเสริมให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ที่หลากหลาย จะช่วยให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้แบบหยั่งเห็นได้มากขึ้น

  1. ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มประมวลสารสนเทศ (Information Processing Theory)
หนังสือสื่ออิเลคทรอนิกส์มัลติมิเดีย เรื่องพระอภัยมณี เป็นการนำเสนอสิ่งเร้าที่ผู้เรียนรู้จักหรือมีข้อมูลอยู่ เคยได้ยินเป็นเรื่องเล่าขานสืบต่อกันมา ซึ่งสามารถช่วยให้ผู้เรียนหันมาใส่ใจและรับรู้สิ่งนั้น ซึ่งผู้สอนสามารถเชื่องโยงไปถึงสิ่งใหม่ที่เกี่ยวข้องกับสิ่งนั้นได้   ลักษณะของสื่อจัดสิ่งเร้าในการเรียนรู้ให้ตรงกับความสนใจของผู้เรียน ช่วยให้เกิดการสัมพันธ์ความรู้ใหม่กับความรู้เดิม

  1. สื่อมัลติมีเดียเพื่อการนำเสนอ
สื่อมัลติมีเดียเรื่องพระอภัยมณี เป็นการใช้คอมพิวเตอร์ร่วมกับโปรแกรมซอฟต์แวร์ในการสื่อความหมายโดยการผสมผสาน สื่อหลายชนิด เช่น ข้อความ กราฟิก (Graphic) ภาพเคลื่อนไหว (Animation) เสียง (Sound)  และวีดิทัศน์ (Video) เป็นต้น และถ้าผู้ใช้สามารถที่จะควบคุมสื่อให้นำเสนอออกมาตามต้องการได้จะเรียกว่า สื่อมัลติมีเดียปฏิสัมพันธ์  (Interactive Multimedia)  การปฏิสัมพันธ์ของผู้ใช้สามารถจะกระทำได้โดยผ่านทางคีย์บอร์ด (Keyboard) เมาส์ (Mouse) หรือตัวชี้ (Pointer) เป็นต้น เพื่อช่วยให้ผู้ใช้สามารถเรียน รู้หรือทำกิจกรรม รวมถึงดูสื่อต่างๆ ด้วยตนเองได้ทำให้เกิดความหลากหลายในการใช้คอมพิวเตอร์อันเป็นเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ ในแนวทางใหม่ที่ทำให้การใช้คอมพิวเตอร์น่าสนใจ และเร้าความสนใจ เพิ่มความสนุกสนานในการเรียนรู้มากยิ่งขึ้น

  1. มัลติมีเดียเพื่อการเรียนรู้ด้วยตนเอง:หนังสืออิเล็กทรอนิกส์
หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ลักษณะมัลติมีเดียเรื่องพระอภัยมณี ที่ผู้เรียนสามารถอ่านผ่านทางอินเตอร์เน็ต หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์พกพาอื่นๆได้ โดยปกติมักจะเป็นแฟ้มข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่สามารถอ่านเอกสารผ่านทางหน้าจอ คอมพิวเตอร์ทั้งในระบบออฟไลน์และออนไลน์  คุณลักษณะของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์สามารถเชื่อมโยงจุดไปยังส่วนต่างๆ ของหนังสือ เว็บไซต์ต่างๆ ตลอดจนมีปฏิสัมพันธ์และโต้ตอบกับผู้เรียนได้
                             โดยหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ลักษณะมัลติมีเดีย เรื่องพระอภัยมณี ประกอบด้วยตัวอักษร เสียงและภาพรวมกัน โครงสร้างหน้าของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์มัลติมีเดีย ภาพของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์มัลติมีเดียอาจเป็นภาพธรรมดาที่มีเอฟเฟค หรือภาพเคลื่อนไหวก็ได้ ในหนึ่งหน้าจอ จะประกอบไปด้วยหลายๆส่วน  ได้แก่ ตัวอักษร ภาพนิ่ง ภาพวิดีโอ กรอบโต้ตอบระหว่างผู้อ่านกับคอมพิวเตอร์ในหน้านี่อาจใส่เสียงด้วย โดยอาจใส่ไว้ในรูปของปุ่มเพื่อให้ผู้เรียนเลือกใช้ช่วยให้ผู้เรียนเกิดพัฒนาการเรียนรู้และเข้าใจเนื้อหาวิชาได้เร็วขึ้น ครูสามารถใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ในการชักจูงผู้เรียนในการอ่าน,การเขียน,การฟังและการพูดได้ 


  1. มัลติมีเดียเพื่อการเรียนรู้ด้วยตนเอง : บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน CAI
หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ลักษณะมัลติมีเดียเรื่องพระอภัยมณี มีความคล้ายคลึงกับ คอมพิวเตอร์ช่วยสอนหรือ CAI ไม่ได้นำเสนอเป็นบทเรียน แต่นำเสนอเป็นตอนตามโครงเรื่องโดยการนำคอมพิวเตอร์มาเป็นเครื่องมือสร้างให้เป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อให้ผู้เรียนนำไปเรียนด้วยตนเองและเกิดการเรียนรู้ ซึ่งจะประกอบไปด้วย เนื้อหาวิชา เกม แบบฝึกหัดอ่านกลอน และลักษณะของการนำเสนอ มีทั้งตัวหนังสือ ภาพกราฟิก ภาพเคลื่อนไหว สีหรือเสียง เพื่อดึงดูดให้ผู้เรียนเกิดความสนใจมากยิ่งขึ้น เนื่องจากบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยการเรียนการสอนจึงส่งผลการเรียนรู้ของนักเรียนดังนี้
1.ทำให้ผู้เรียนเรียนได้ในอัตราความเร็วของตนเอง
2.ผู้เรียนจะเรียนที่ไหนเมื่อใดก็ได้
3.ผู้เรียนสามารถเรียนได้จากสื่อประสม (Multi media) จากระบบคอมพิวเตอร์
4.ผู้เรียนสามารถทราบผลการเรียนของตนเองในการปฏิบัติกิจกรรมรวดเร็วกว่าสื่ออื่น ๆ

7.              เครือข่ายสังคมออนไลน์ (Social Network)
หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ลักษณะมัลติมีเดียเรื่องพระอภัยมณี สามารถทำให้กลุ่มคนที่รวมกันเป็นสังคมมีการทำกิจกรรมร่วมกันบนอินเทอร์เน็ตระหว่างครูผู้สอนกับผู้เรียน ในรูปแบบของเว็บไซต์มีอินเตอร์เน็ตการแผ่ขยายออกไปเรื่อย ๆ ทำให้เครือข่ายคอมพิวเตอร์หรืออินเทอร์เน็ตเป็นสังคมขึ้นมา การสร้างชุมชนใหม่บนอินเทอร์เน็ตเป็นเครื่องมือสำคัญในการติดต่อสื่อสาร สามารถทำกิจกรรมต่างๆ ทั้งเพื่อการเรียนรู้ การศึกษาหาความรู้ต่างๆ  และความบันเทิง เพราะทุกวันนี้มนุษย์สังคมเมืองส่วนใหญ่ จะใช้ชีวิตอยู่กับสังคมออนไลน์มากขึ้นทุกวัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น